บุคลากรสำนักหอสมุด มช. ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิชาการ ในการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 14
บุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิชาการ ประเภทบรรยาย ระดับดี (กลุ่มจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Management: IM) ผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่ เรื่อง "การพัฒนาระบบตรวจสอบการเชื่อมโยงข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ปิยะบุตร ปัญญาดี และอภิรสิกาณ์ เวชพร ในการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 14 (The 14th PULINET National Conference – PULINET 2024) "Better Libraries: Honour Yesterday, Celebrate Today, Embrace Tomorrow” ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 10 - 12 มกราคม พ.ศ. 2567
การนำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการ PULINET นั้น สำนักหอสมุด มช. ได้รับรางวัลอย่างต่อเนื่อง และในปี 2567 นี้มีผลงานวิชาการที่ผ่านการคัดเลือกให้นำเสนอในประเภทบรรยายและโปสเตอร์ รวมจำนวน 4 ผลงาน ประกอบด้วย
ประเภท Oral Presentation
1. การสื่อสารภายในองค์กรสำหรับบุคลากร Generation Y
โดย นางสาวอาภินานันท์ ศรีมา, นางสาวณัฐนรี ดำรงเลาหพันธ์, นายธนะพันธุ์ การคนซื่อ
กลุ่มการบริหารจัดการองค์กร (OM : Organisational Management)
2. Friendly for all: เพื่อนักศึกษาพิการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดย นางสาวชัณษา สีแดง, นางสาวนพมาศ จันทรพิทักษ์, นางสาวญากันต์ณัฐ เย็นสถิตย์, นางทิพวรรณ สุขรวย
กลุ่มการบริการสารสนเทศ (IS : Information Services)
3. การพัฒนาระบบตรวจสอบการเชื่อมโยงข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดย นายปิยะบุตร ปัญญาดี ,นางสาวอภิรสิกาณ์ เวชพร
(กลุ่มจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Management: IM)
ประเภท Poster Presentation
4. การเปิดรับจุดจับใจในการสื่อสารต่อผู้ใช้บริการห้องสมุด
โดย นางสาวณัฐนรี ดำรงเลาหพันธ์, นางชไมพร เขื่อนจินดาวงศ์, นายธนะพันธุ์ การคนซื่อ
กลุ่มการบริหารจัดการองค์กร (OM : Organisational Management)
การประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 14 (The 14th PULINET National Conference - PULINET 2024) เป็นเวทีการนำเสนอผลงานวิชาการระดับประเทศด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา มีผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ บุคลากรห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา อาจารย์ในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จากทั่วประเทศ จำนวนกว่า 300 คน มีผลงานวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอ จำนวน 105 ผลงาน