|
|
|
|
|
|
ตราและคำขวัญของมหาวิทยาลัย |
|
พุทธศักราช
2506 คณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการให้มีการออกแบบตรามหาวิทยาลัย |
ตรามหาวิทยาลัยแบบที่ผู้ออกแบบนำมาเสนอนั้น
เป็นรูปเชิงเทียน 8 อัน ตั้งอยู่บนฐานพญานาค มีเทียน 8 เล่มจุดสว่างไสวอยู่บนเชิงเทียน
เชิงเทียนทั้ง 8 มีความหมายว่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะมี 8 คณะ ตามหลักการแบ่งสาขาวิชาขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมของสหประชาชาติ (UNESCO) แสงเทียน หมายถึง ความรู้และวิชาการต่างๆ
เมื่อศาสตราจารย์บัวเรศ
คำทอง นำเอาแบบตรามหาวิทยาลัยเข้าสู่ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย
ซึ่งมีพลเอกถนอม
กิตติขจร เป็นนายกสภาฯ ที่ประชุมเห็นว่า เนื่องจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยประจำภาคเหนือ
ตรามหาวิทยาลัย ควรจะมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของภาคเหนืออยู่ด้วย ประธานที่ประชุมได้เสนอแนะว่า
ทางภาคเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชียงใหม่นั้น ใช้ช้างเป็นสัญลักษณ์ เพราะช้างเป็นสัตว์ที่มีคุณค่าสูงมากในภาคเหนือ
ที่ประชุมจึงได้มีมติให้นำรูปช้างมาเป็นตรามหาวิทยาลัย |
ผู้ออกแบบได้ออกแบบใหม่อีกครั้ง
ในแบบนั้นมีช้างยืนชูงวงถือคบเพลิง แต่เป็นการยืนในท่วงท่าก้าวเดิน มองเห็นด้านหน้าได้ชัด
ด้านข้างพอมองเห็นว่าอยู่ในท่าเหยาะย่างรอบๆ คบเพลิงบนหัวช้าง มีรัศมี
8 แฉก ดังนั้นโดยความหมายแล้ว ช้างหมายถึงภาคเหนือ การก้าวย่างของช้างหมายถึง
ความเจริญก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง คบเพลิง หมายถึง ความสว่างไสวแห่งปัญญาและวิชาการ
รัศมี8 แฉก หมายถึงคณะทั้ง 8 ที่มหาวิทยาลัยจะจัดตั้งขึ้น |
พระยาศรีวิสารวาจา
(อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เห็นว่าตราของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ควรจะมีสุภาษิตหรือคำขวัญประจำมหาวิทยาลัยกำกับไว้
จึงได้มอบหมายให้ ศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม (อดีตคณบดีคณะมนุษยศาสตร์)
กราบนมัสการขอพุทธภาษิตจากท่านเจ้าคุณ พระศาสนโสภณ (สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สังฆปรินายก) วัดบวรนิเวศ และได้เลือกพุทธภาษิตบทที่ว่า
“อตฺตานํ
ทมยนฺติ ปณฺฑิตา” ซึ่งแปลว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน
เป็นคำขวัญประจำมหาวิทยาลัย และคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้กำหนดให้คำขวัญดังกล่าวอยู่ในกรอบเส้นรอบวงด้านบน และคำว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อยู่ด้านล่าง และตรงกลางระหว่างข้อความทั้งสองมีดอกสัก ซึ่งมีกลีบดอก
6 กลีบคั่นกลาง (สักเป็นต้นไม้ที่มีค่าและมีอุดมสมบูรณ์ในภาคเหนือ) |
|
สีประจำมหาวิทยาลัย |
|
ในระยะแรกของการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้น
ศาสตราจารย์สุมนา คำทอง (หัวหน้าภาควิชาภูมิศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เลือกสีประจำมหาวิทยาลัย
โดยคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดแนวทางให้เลือกสีที่มีความหมายเกี่ยวกับภาคเหนือ
ในที่สุดศาสตราจารย์สุมนา คำทองได้เสนอให้ สีม่วง
เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย เพราะมณฑลพายัพมีสีม่วงแดง (บานเย็น) เป็นสีประจำมณฑล
แต่ได้กำหนดให้สีม่วงของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสีม่วงดอกรัก
ทั้งนี้เพราะโรงเรียนบางแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ใช้สีม่วงแดงเป็นสีประจำโรงเรียนอยู่แล้ว |
|
|
|
พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย |
|
"พระพุทธทศพลชินราช" |
|
|
พระพุทธทศพลชินราช (องค์หลัง) |
|
ปีพุทธศักราช
2528 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดให้มีการฉลอง 20 ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดร.บุณย์ นิลเกษ ได้ร่วมหารือกับศาสตราจารย์
นายแพทย์
ประยุทธ ฐิตสุต อธิการบดีในขณะนั้น เพื่อขออนุญาตจัดหาพระพุทธชินราช
ขนาดหน้าตัก 60 นิ้ว มาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และเป็นอนุสรณ์การเฉลิมฉลอง 20 ปีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี เงื่อนไขว่าจะต้องมิให้มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
และขออนุญาตประดิษฐานองค์พระที่ศาลาธรรม |
เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิการบดีแล้ว
ประมาณเดือนมิถุนายน ดร.บุณย์ นิลเกษ ได้มีโอกาสไปประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับสภาสังคมสงเคราะห์ที่วัดเบญจมบพิตรฯ
กรุงเทพฯ จึงได้มีโอกาสพบองค์พระซึ่งประดิษฐานอยู่หน้าห้องประชุมใหญ่
แต่เดิมองค์พระยังมิได้มีการปิดทองเพียงแต่ขัดทอง เท่านั้น ซึ่งมีความสง่างามมาก
ดร.บุณย์ นิลเกษ จึงหาโอกาสเข้านมัสการพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ
พระพุทธิวงศ์มุนี เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรฯ เพื่อขออัญเชิญองค์พระมาประดิษฐานที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นอนุสรณ์ 20 ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยซึ่งมิเคยมีมาในอดีตและจะประดิษฐานองค์พระไว้ที่ศาลาธรรมด้วย
พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระพุทธิวงศ์มุนีจึงให้ดร.บุณย์ นิลเกษ กลับมาประสานกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อทำหนังสือยืนยันอีกครั้ง |
สำหรับเจ้าภาพหล่อองค์พระ
คือ นายแพทย์หมิง สุดสาคร และครอบครัว
ได้ทำพิธีหล่อองค์พระตามพิธีหลวงอย่างสมบูรณ์แบบ ในวันวิสาขบูชา และรอเวลาที่จะนำองค์พระลงเรือไป
ชิคาโก เมื่อพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพุทธิวงศ์มุนีแจ้งความประสงค์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แก่นายแพทย์หมิงแล้ว นายแพทย์หมิงจึงได้เดินทางมาดูศาลาธรรมซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์พระด้วย
ตนเอง และมีความพึงพอใจมาก ในขณะเดียวกันพระเดชพระคุณพระพุทธชินวงศ์ก็ได้มาดูสถานที่ประดิษฐานองค์พระด้วย
เมื่อครั้งมาปฏิบัติศาสนกิจที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้ดำริให้ปิดทององค์พระ
ทั้งองค์ |
ในที่สุด
คณะผู้อัญเชิญองค์พระ นำโดย ดร.บุณย์ นิลเกษ ก็ได้อัญเชิญองค์พระมาถึงวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 28 ธันวาคม พุทธศักราช 2528 อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่พร้อมด้วยอาจารย์
เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา จัดให้มีขบวนแห่ต้อนรับอย่างพร้อมเพรียงกัน
ณ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จนถึงเวลา 14.09 น. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประยุทธ
ฐิตสุต เป็นประธานจุดธูปเทียนกล่าวอัญเชิญองค์พระขึ้นสู่รถยนต์บุษบก
เพื่อนำขบวนออกจากวัด พระสิงห์วรมหาวิหาร ผ่านประตูช้างเผือกและมุ่งตรงสู่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ท่ามกลางฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก |
ดร.บุณย์
นิลเกษ ได้บรรยายเหตุการณ์ในระหว่างการเคลื่อนขบวนองค์พระจาก วัดพระสิงห์มายังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไว้อย่างน่าสนใจ
ว่า "ในขบวนแห่องค์พระประกอบด้วยขบวนกลองสั้น กลองยาว และช่างฟ้อน
จากคณะศรัทธาวัดต่างๆ ขบวนได้เคลื่อนออกจากวัดพระสิงห์ท่ามกลางฝนที่ตกอย่างหนัก
บริเวณรอบองค์พระมีลมพัดกระโชกแรงจนทำให้สัปทนที่กางให้องค์พระหักทันที
ที่บริเวณประตูช้างเผือก และมีเสียงตะโกนท่ามกลางกระแสลมที่แรงว่า "หลวงพ่อชินราชอยากดูเมืองเชียงใหม่เอาสัปทนทิ้งเสีย"
จนกระทั่งเวลา 17.00 น. โดยประมาณ ขบวนแห่ก็มาถึงประตูมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เมื่อถึงเชิงบันไดศาลาธรรมขบวนฆ้อง กลองและช่างฟ้อน หยุดแห่ ฝนที่ตก
โปรยปรายมาตลอดทาง ได้ตกกระหน่ำอย่างแรงอีกครั้ง เจ้าหน้าที่อัญเชิญองค์พระลงจากรถยนต์บุษบก
นำโดยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชัยโรจน์
เด่นอุดม ขณะนั้นฝนยังคงตกอย่างหนักทุกคนต้องเข้าไปหลบฝนในศาลาธรรม
ทำให้ศาลาธรรมเล็กไปถนัดตา ผู้เขียนเองก็ขึ้นไปหลบฝนบนศาลาธรรมเช่นกันในการอัญเชิญองค์พระครั้งนั้นมีเรื่องน่าตื่นเต้น
คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายยกองค์พระทั้งคณะได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อที่จะยกองค์พระขึ้นศาลาธรรมแต่ก็ไม่สำเร็จ
แม้ว่าจะได้เตรียมรถยกไว้แล้วก็ตาม แต่เห็นว่าเป็นการไม่สมควรที่จะทำเช่นนั้น
หลวงพ่อพระเทพสารเวที (ขันธ์) จากวัดเจดีย์หลวงจึงมีบัญชาให้ผู้เขียนนำขันดอกไม้
ธูป เทียนและพระเกศไปอาราธนาอัญเชิญองค์พระ ผู้เขียนจึงนำขันดอกไม้และพระเกศเดินฝ่าสายฝนไปขอขมาและอาราธนาอัญเชิญขึ้นศาลาธรรม
จึงสามารถยกองค์พระและอัญเชิญขึ้นฐานชุกชีโดยสะดวก |
หลังจากอัญเชิญองค์พระขึ้นสู่ศาลาธรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประยุทธ ฐิตสุต อธิการบดีได้นำพระเกศขึ้นถวาย (วางไว้บนเศียรองค์พระตามเดิม)
จากนั้น พระสงฆ์ 108 รูป เจริญชัยมงคลคาถาและสวดพุทธชยมงคล (พาหุง) ถวายจนจบพร้อมกับฝนที่หยุดตกในทันที
หลังจากเสร็จพิธีสงฆ์ จึงเป็นการมอบสิ่งของที่ระลึกแก่คณะช่างฟ้อน และขบวนแห่จากวัดต่างๆ" |
ปีพุทธศักราช
2529 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯขอพระราชทาน พระนาม เป็น
"พระพุทธทศพลชินราช" เพื่อให้เป็นเกียรติมงคลแก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และในปี พุทธศักราช 2530 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์อาวุธ
ศรีสุกรี อธิการบดีในขณะนั้น ได้จัดให้มีการทอดผ้าป่าสามัคคีร่วมกับคณะสงฆ์และประชาชนชาวเชียงใหม่
เพื่อก่อสร้าง "หอพระพุทธ" ให้เป็นที่ประดิษฐานขององค์พระพุทธทศพลชินราชสืบไป |
(ที่มา
: ประวัติพระพุทธทศพลชินราช จากการเขียนบรรยายของ ดร.
บุณย์ นิลเกษ) |
|
"พระพุทธพิงคนคราภิมงคล" |
|
|
พระพุทธนคราภิมงคล (องค์หน้า) |
|
ในวาระอันเป็นมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ
50 ปี ในปี 2539 และในโอกาสที่เมืองเชียงใหม่มีอายุครบ 700 ปี มูลนิธิพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พิจารณาเห็นสมควรที่คณาจารย์
ข้าราชการ นักศึกษา และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทุกคนจะได้น้อมรำลึกถึงโอกาสอันเป็นมหามงคลจึงได้พร้อมใจกันดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึกขึ้น
โดยกำหนดเป็นโครงการสร้าง พระพุทธรูปศิลปล้านนา เหรียญพระครูบาศรีวิไชย
รูปหล่อลอยองค์พระครูบาศรีวิไชย และแผ่นปั๊มนูนต่ำพระครูบาศรีวิไชยแบบห่มคลุม
เพื่อเป็นศิริมงคลและเป็นที่สักการะบูชา |
ในการจัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึกครั้งนี้
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีความปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกที่ได้ทรงพระราชทานนามพระพุทธรูปที่จัดสร้างว่า
"พระพุทธพิงคนคราภิมงคล" เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีพิธีเททอง ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพ โดยมีเกจิอาจารย์
ชื่อดังจากทั่วประเทศมาร่วมพิธีทุกลำดับขั้นตอน |
พระพุทธลักษณะของพระพุทธพิงคนคราภิมงคล |
1. |
เป็นพระพุทธรูปแบบ "ศิลปล้านนา" |
2. |
องค์พระสร้างด้วยเนื้อโลหะผสม ลงรักปิดทอง
ล่องชาด |
3. |
องค์พระจากฐานถึงปลายพระเกศยาว 24 เซนติเมตร
มีขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว |
4. |
ฐานพระพุทธรูป เป็นฐาน 8 เหลี่ยม รอบวงกว้าง
54 เซนติเมตร สูง 5 เซนติเมตร ทำด้วยเงินกะไหล่ทอง ลายประดับลักษณะล้านนา |
5. |
องค์พระพุทธรูปทรงเครื่องศิราภรณ์ทำด้วยทองคำ
ทรงสังวาลย์นพเก้าเบื้องบนกั้นฉัตรทองคำ 5 ชั้น ระย้าประดับเพชรแท้
9 เม็ด ทับทิมแท้ 11 เม็ด |
6. |
มีพระนามย่อสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก
"ญ.ส.ส." ทำด้วยทองคำประดับด้านหน้าฐานพระ |
7. |
มีตราสัญลักษณ์ปีกาญจนาภิเษก ทรงครองราชย์ครบ
50 ปี เป็นทองคำลงยาประดับด้านหน้าฐานพระ |
8. |
ด้านหลังพระพุทธรูปจะสลักชื่อ "พระพุทธพิงคนคราภิมงคล"
ทำด้วยทองคำซึ่งได้รับ พระราชทานนามจากองค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกและมีการสลักสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรูปช้างด้วยทองคำ |
(ที่มา : วารสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
22 , 363 (มี.ค.39) 3) |
|
|
เพลงมหาวิทยาลัย |
|
|
|
ครุยวิทยฐานะ
|
|
ครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มีสามชั้น คือ |
|
1.
ครุยดุษฎีบัณฑิต ทำด้วยผ้าหรือแพรสีดำ เย็บเป็นเสื้อคลุม ยาวเหนือข้อเท้าประมาณ
15 เซนติเมตร หลังจีบ ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีแถบกำมะหยี่สีดำ กว้าง
10 เซนติเมตร เย็บติดเป็นสาบตลอดด้านหน้าทั้งสองข้างและโอบรอบคอ
เสื้อแขนกว้างยาวตกข้อมือ ปลายแขนรวบติดข้อมือ ตอนกลางแขนทั้งสองมีแถบกำมะหยี่สีดำ
กว้าง 5 เซนติเมตร จำนวนสามแถบติดเรียงกันระยะห่าง 5 เซนติเมตร
มีผ้าคล้องคอด้านนอก ทำด้วยผ้าหรือแพรสีดำเช่นเดียวกับเสื้อ ด้านในทำด้วยผ้าหรือแพรสีม่วงดอกรัก
มีแถบกำมะหยี่สีประจำคณะหรือสีประจำสาขาวิชา กว้าง 8 เซนติเมตร
ทาบรอบคอ ปลายนอกของผ้าคล้องคอขลิบด้วยผ้าหรือแพรสีม่วงดอกรัก
กว้าง 1 เซนติเมตร ประกอบด้วยหมวกแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ
24 เซนติเมตร ทำด้วยผ้าหรือแพรสีดำ มีพู่ทำด้วยดิ้นทองยาว 22 เซนติเมตร |
|
2.
ครุยมหาบัณฑิต เช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิต แต่แถบกำมะหยี่สีดำที่เย็บติดเป็นสาบ
กว้าง 8 เซนติเมตร ต้นแขนกว้าง ปลายแขนแคบมีช่องสอดแขนออกมาที่ท้องแขน
ทิ้งชายห้อย ไม่มีแถบที่แขน หมวกมีพู่ทำด้วยไหมสีดำยาว 22 เซนติเมตร
(สำหรับแพทยศาสตร์บัณฑิต ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต สัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต
ใช้ครุยมหาบัณฑิต) |
|
3.
ครุยบัณฑิต เช่นเดียวกับครุยมหาบัณฑิต แต่แถบกำมะหยี่สีดำที่เย็บติดเป็นสาบ
กว้าง 6 เซนติเมตร แขนกว้างยาวถึงข้อมือ |
|
|
|
เข็มวิทยฐานะ |
|
|
เพื่อความเป็นบัณฑิตโดยสมบูรณ์
บัณฑิตทุกคนจะได้รับเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ปลายด้านล่างมน ทำด้วยโลหะ พื้นลงยาสีม่วง ขอบโดยรอบเป็นสีทอง
มีตรามหาวิทยาลัยอยู่ตรงกลาง สำหรับชายขนาด 1.5 x 3 เซนติเมตร
สำหรับหญิงขนาด 1.5 x 2.5 เซนติเมตร |
|
|
เครื่องแบบนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต้องการให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทุกคนมีบุคลิกภาพที่ดี
เป็นที่ยอมรับต่อสังคม และเป็นที่ชื่นชมต่อผู้ที่ได้พบเห็นทั่วไป ทำให้นักศึกษาเกิดความภาคภูมิใจในสถาบัน
อีกทั้งยังเป็นการเคารพต่อสถานที่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดังนั้นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดเครื่องแบบนักศึกษาไว้ 2 โอกาสคือ
เครื่องแบบนักศึกษาที่ใช้ทั่วไปในโอกาสปกติและเครื่องแบบนักศึกษาในโอกาสพิเศษ |
|
เครื่องแบบนักศึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้ง 2 โอกาส ในระยะแรกเริ่มก่อตั้งจนถึงปีพ.ศ.
2536 |
|
เครื่องแบบนักศึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้ง 2 โอกาส ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา |
|
|
|
|
เครื่องแต่งกายปกตินักศึกษาปีที่ 1 |
|
เครื่องแต่งกายปกตินักศึกษาปีที่ 2 ขึ้นไป |
|
เครื่องแบบนักศึกษาชายที่ใช้ทั่วไปเป็นปกติประกอบด้วย |
1. |
เสื้อเชิ้ตขาวเกลี้ยงไม่มีลวดลาย |
2. |
ปกเสื้อแบบคอเชิ้ตปลายแหลม |
3. |
ตัวเสื้อผ่าอกโดยตลอด ติดกระดุมสีขาวขนาดเล็ก |
4. |
กระเป๋าเสื้อ 1 ใบ แบบเรียบไม่มีฝา |
5. |
แขนเสื้อใช้แบบธรรมดาไม่พับแขนเสื้อ |
6. |
ความยาวของตัวเสื้อเลยสะเอว เพื่อให้ขอบกางเกงทับได้โดยเรียบร้อย
|
7. |
กางเกงขายาวแบบสากล สีกรมท่า สีเทา สีดำ
สีน้ำตาล สีน้ำเงินแก่ |
8. |
เข็มขัดหนังสีดำ มีหัวเข็มขัดทำด้วยโลหะ
เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีตรามหาวิทยาลัย หรือตราประจำคณะ |
9. |
รองเท้าหุ้มส้นสีและแบบสุภาพ |
10. |
ถุงเท้าสีและแบบสุภาพ |
11. |
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ให้ผูกเนคไทสีม่วงมหาวิทยาลัย
หัวเข็มขัดตรามหาวิทยาลัย |
|
|
เครื่องแบบนักศึกษาหญิงที่ใช้ทั่วไปเป็นปกติประกอบด้วย |
1. |
เสื้อเชิ้ตสีขาวเกลี้ยงไม่มีลวดลาย |
2. |
ปกเสื้อแบบคอเชิ้ตปลายแหลม |
3. |
ตัวเสื้อผ่าอกโดยตลอด มีสาบเสื้อ ติดกระดุม
4 หรือ 5 เม็ด กระดุมเสื้อให้ใช้กระดุมโลหะสีเงิน ดุนเป็นรูปตรามหาวิทยาลัย |
4. |
แขนเสื้อใช้แบบแขนสั้นธรรมดา |
5. |
ความยาวของตัวเสื้อให้เลยสะเอวเพื่อให้ขอบกระโปรงทับได้โดยเรียบร้อย |
6. |
เข็มกลัดเสื้อตรามหาวิทยาลัย กลัดเหนืออกเบื้องซ้าย |
7. |
กระโปรงแบบเรียบสุภาพ สีดำ สีน้ำเงินแก่
สีเทาหรือสีน้ำตาล ความยาวพอดีเข่า |
8. |
เข็มขัดหนังสีดำหัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีเงิน
เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีตรามหาวิทยาลัย หรือตราประจำคณะ |
9. |
รองเท้าหุ้มส้นสีและแบบสุภาพ |
10. |
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ให้สวมรองเท้าหุ้มส้นสีขาว
และถุงเท้าสั้นสีขาวไม่มีลวดลาย หัวเข็มขัดตรามหาวิทยาลัย |
|
|
* สำหรับบัณฑิตศึกษา |
การแต่งกายในโอกาสปกติของนักศึกษาชาย-หญิง
ให้แต่งกายสุภาพ สวมรองเท้า หุ้มส้น สีและแบบสุภาพ |
|
|
|
เครื่องแต่งกายนักศึกษาในโอกาสพิเศษ |
|
เครื่องแบบนักศึกษาชายที่ใช้ในโอกาสพิเศษ
ประกอบด้วย |
1. |
เสื้อเชิ้ตสีขาวแขนยาวไม่มีลวดลาย
|
2. |
กางเกงขายาวแบบสากลสีขาว |
3. |
รองเท้าหุ้มส้นสีดำ ไม่มีลวดลาย
มีเชือกผูก |
4. |
ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า |
5. |
เข็มขัดหนังหรือหนังกลับสีดำ
ขนาด 3 ซม.มีหัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีเงินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด
3x5 ซม. ดุนเป็นรูปตรามหาวิทยาลัย |
6. |
เนคไทสีม่วง |
7. |
เข็มกลัดเนคไทตรามหาวิทยาลัย |
|
|
เครื่องแบบนักศึกษาหญิงที่ใช้ในโอกาสพิเศษ
ประกอบด้วย |
1. |
เสื้อทำด้วยผ้าสีขาวเกลี้ยง
ไม่มีลวดลาย มีความหนาพอสมควร |
1.1 |
ปกเสื้อแบบคอเชิ้ตปลายแหลม |
1.2 |
ตัวเสื้อผ่าอกโดยตลอด มีสาบ 1.25 นิ้ว
ติดกระดุม 4 หรือ 5 เม็ด |
1.3 |
แขนเสื้อสั้นเหนือศอก |
1.4 |
ความยาวของตัวเสื้อให้เลยสะเอวเพื่อให้กระโปรงทับได้โดยมิดชิด |
2. |
กระดุมเสื้อ ให้ใช้กระดุมโลหะสีเงินดุนเป็นรูปตรามหาวิทยาลัย
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม. |
3. |
กระโปรงสีม่วงแบบเรียบทรงตรง
ความยาวคลุมเข่า ผ่าด้านหลังทับซ้อนกัน 3 นิ้ว |
4. |
เข็มขัดหนังหรือหนังกลับสีดำ
ขนาดกว้าง 4 ซม. หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีเงิน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ขนาด 4.5 ซม. ดุนเป็นรูปตรามหาวิทยาลัย |
5. |
เข็มกลัดเสื้อตรามหาวิทยาลัย
กลัดเหนืออกเบื้องซ้าย |
6. |
รองเท้าหุ้มส้นสีดำ ส้นสูงไม่เกิน
2.5 นิ้ว |
|
|