ฯพณฯ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 เวลา 09.50 น. ณ บ้านถนนอัษฏางค์ อำเภอ
พระนคร จังหวัดพระนคร เป็นบุตรชายคนเดียวของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) อดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการ และท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (นามสกุลเดิม วสันตสิงห์) มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 10 คน คือ
1. ม.ล. (หญิง) ปก มาลากุล
2. ม.ล. (หญิง) ป้อง มาลากุล
3. ม.ล. (หญิง) ปอง มาลากุล
4. ม.ล. (ชาย) ปิ่น มาลากุล
5. ม.ล. (หญิง) เปนศรี มาลากุล
6. ม.ล. (หญิง) เปี่ยมสิน มาลากุล
7. ม.ล. (ชาย) ปนศักดิ์ มาลากุล
8. ม.ล. (หญิง) ปานตา มาลากุล
9. ม.ล. (ชาย) ประวัติ มาลากุล (ต่างมารดา)
10. ม.ล. (หญิง) นกน้อย มาลากุล (ต่างมารดา)
          ฯพณฯ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล สมรสกับนางสาวดุษฏี ไกรฤกษ์ (ท่านผู้หญิงดุษฏีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา) บุตรีเจ้าพระยามหิธร และท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร เมื่อ พ.ศ. 2474 ท่านทั้งสองไม่มีบุตรธิดา
 
 
ฯพณฯ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ถ่ายภาพร่วมกับท่านผู้หญิงดุษฏีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา
 
การศึกษา
พ.ศ. 2450 เริ่มเรียนหนังสือที่บ้านเมื่ออายุประมาณ 4 ขวบ กับครูแฉล้ม (แฉล้ม คุปตารักษ์ ภายหลังเป็นพระยา-
อนุศาสตร์พณิชยการ)
พ.ศ. 2451 เรียนหนังสือกับครูอู๋ (พระยาพณิชยศาสตร์วิธาน)
พ.ศ. 2452 เรียนหนังสือกับครูเชื้อ (หม่อมหลวงเชื้อ อิศรางกูร ภายหลังเป็น หลวงไวทเยศ)
พ.ศ. 2453 เข้าโรงเรียนมัธยมราชบูรณะ (ปัจจุบันคือ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) เลขประจำตัว 145 สอบไล่ได้ชั้นประถมพิเศษปีที่ 3 ตามแผนการศึกษา พ.ศ.2452 ซึ่งเปลี่ยนเป็นมัธยม 3 ตามแผนการศึกษา พ.ศ. 2456 ท่านเรียนอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยจนสอบไล่ได้ชั้นมัธยม 3 ขณะที่มีอายุได้เพียง 10 ปี
พ.ศ. 2457 บิดาได้นำเข้าถวายตัวต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ย้ายเข้าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (ปัจจุบันคือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย) เป็นนักเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขประจำตัว 199 โดยเรียนซ้ำมัธยมปีที่ 3 อีก 1 ปี แต่ไม่ต้องเรียนวิชาเลขคณิต และภาษาอังกฤษ เพราะสามารถทำคะแนนได้ดีมาก โดยเฉพาะวิชาเลขคณิต สอบได้ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงได้รับรางวัลอยู่เป็นประจำ
พ.ศ. 2458 ขณะที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 4 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ
โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งนักเรียนมหาดเล็กรับใช้ขึ้น และ ฯพณฯหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้รับคัดเลือกให้เป็นนักเรียนมหาดเล็กรับใช้รุ่นแรก ได้รับเงินเดือนเดือนละ 20 บาท ทำให้ท่านไม่ได้เรียนที่โรงเรียนอีก แต่ปลายปีท่านยังคงมาสอบไล่ และได้เลื่อนไปเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 นับตั้งแต่นั้นท่านไม่ได้มาเรียนหรือสอบที่โรงเรียนอีกเลย จึงเป็นการจบการศึกษาในโรงเรียนในประเทศไทยแต่เพียงเท่านี้ อย่างไรก็ตามท่านได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองเรื่อยมาตลอดเวลาที่เป็นนักเรียนมหาดเล็กรับใช้อยู่ประมาณ 6 ปีเศษ และท่านยังได้เป็นนักเรียนเสือป่ามาตลอดอีกด้วย
พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสโปรดเกล้า ฯ ให้ ฯพณฯ หม่อมหลวงปิ่น
มาลากุล ไปแจ้งแก่ท่านผู้หญิงเสงี่ยมดังนี้ "ไปบอกแม่ว่า จะส่งปิ่นไปเรียนอังกฤษ สังกัดกระทรวงธรรมการ จะได้กลับมารับราชการแทนพ่อ แม่คงจะยินดีมาก" หลังจากนั้นจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ฯพณฯ หม่อมหลางปิ่น มาลากุล รับทุนกระทรวงธรรมการ ไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ระยะแรกได้ไปอยู่กับครอบครัว Marshall ที่เมือง Brighton เพื่อฝึกฝนด้านภาษาและประเพณี
พ.ศ. 2465 เข้าศึกษาภาษาสันสกฤตและบาลีที่ Scholl of Oriental Studies มหาวิทยาลัยลอนดอน และได้เริ่มเรียนภาษาสันสกฤตเป็นครั้งแรกที่นี่
พ.ศ. 2467 เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด โดยเลือกภาษาสันสกฤตเป็นวิชาเอก และภาษาบาลีเป็นวิชาโท
พ.ศ. 2471 สำเร็จการศึกษาและได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยม ทางภาษาสันสกฤต (B.A. Honours)
พ.ศ. 2472 ศึกษาวิชาครูเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด หลังจากผ่านการสอบสอนและข้อเขียนบางวิชาผ่านไปแล้ว ท่านล้มป่วยจากการตรากตรำทำงานอย่างหนัก จึงเดินทางไปรักษาตัวที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พ.ศ. 2474 ระหว่างพักรักษาตัวอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ได้พิจารณาผลการทำงาน และผลสอบที่ผ่านมาของท่านอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ จึงมอบปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (M.A.) เมื่อท่านได้รับปริญญาแล้วก็รีบเดินทางกลับประเทศไทยในปีนั้นทันที
พ.ศ. 2498 สำเร็จการศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นแรก)
 
 ก้าวสู่ชีวิตทำงาน
พ.ศ.2455 ถวายตัวเป็นมหาดเล็กที่พระที่นั่งอัมพรสถาน
พ.ศ.2458 เป็นนักเรียนมหาดเล็กรับใช้รุ่นเล็ก
พ.ศ.2461 เป็นนักเรียนมหาดเล็กรับใช้รุ่นใหญ่
พ.ศ.2474 อาจารย์ประจำกองแบบเรียนกรมวิชาการ (ปัจจุบันคือกรมอาชีวศึกษา)
อาจารย์พิเศษคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ.2475 อาจารย์โท อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ.2477 หัวหน้าแผนกฝึกหัดครูมัธยม คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งต่อมากระทรวงธรรมการมีคำสั่งให้โอนโรงเรียนมัธยมหอวังไปสังกัดกรมมหาวิทยาลัย เพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกหัดสอนสำหรับนิสิตฝึกหัดครูมัธยม ดังนั้นโรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงเป็นโรงเรียนสาธิตแห่งแรกใน
ประเทศไทย
พ.ศ.2480 อาจารย์เอก อันดับ 1
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มอบหมายให้ ฯพณฯหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยใช้สถานที่โรงเรียนมัธยมหอวัง ฯพณฯหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาอีกตำแหน่ง และได้จัดให้มีการเรียนการสอนตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2481 เป็นต้นมา
พ.ศ.2481 อาจารย์ อันดับ 3
พ.ศ.2482 อาจารย์ อันดับ 4
พ.ศ.2485 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสามัญศึกษา
พ.ศ.2486 ชั้นพิเศษ อันดับ 1
พ.ศ.2487 ชั้นพิเศษ อันดับ 2
ทำงานในหน้าที่เลขาธิการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (22 สิงหาคม - 6 ตุลาคม)
พ.ศ.2489 ชั้นพิเศษ อันดับ 3
ได้รับตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และได้ดำรงตำแหน่งนี้นานถึง 11 ปีเศษ
พ.ศ.2495-2496 รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมวิชาการ
พ.ศ.2497 รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมการฝึกหัดครู (ถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2499)
รักษาการในตำแหน่งอธิบดีวิทยาลัยวิชาการศึกษา(ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2499)
ศาสตราจารย์พิเศษในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ.2500-2501 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวัฒนธรรม รัฐบาลชุด นายพจน์ สารสิน เป็น
นายกรัฐมนตรี
พ.ศ.2501-2502 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวัฒนธรรม รัฐบาลชุด จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
รักษาการอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (18-29 สิงหาคม พ.ศ.2501)
พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (1 กันยายน เนื่องจากยุบกระทรวง)
พ.ศ.2502-2506 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐบาลชุด จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี
พ.ศ.2506-2512 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐบาลชุด จอมพลถนอม กิตติขจร์ เป็นนายกรัฐมนตรี
พ.ศ.2512 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ.2513 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
 
 ภาระหน้าที่ในฐานะเจ้ากรมและเจ้ากระทรวง
 
อธิบดีกรมสามัญศึกษา ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 ฯพณฯหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสามัญศึกษา
(พ.ศ.2485-2489) ท่านได้ดำเนินงานที่สำคัญ เช่น ได้สนับสนุนกิจการของโรงเรียนราษฏร์ โดยเพิ่มเงินทุนอุดหนุนให้แก่โรงเรียนมากขึ้น มีการปรับปรุงเงินเดือนและแก้ไขกฏหมายที่ให้ประโยชน์แก่ครู รวมทั้งได้เปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายให้ครบทุกจังหวัด
 
ปลัดกระทรวงการศึกษา ดำรงตำแหน่งในช่วงปี พ.ศ.2489-2500 เป็นระยะเวลาที่ท่านได้ปรับปรุงเรื่องการศึกษามากที่สุด ได้แก่
1. จัดตั้งแผนกฝึกหัดครูมัธยม เมื่อ พ.ศ. 2490 ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
2. จัดตั้งแผนกฝึกหัดครูชั้นสูง เมื่อ พ.ศ. 2492 ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
3. ร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2494
4. จัดตั้งกรมวิชาการศึกษา พ.ศ. 2495
5. จัดตั้งโรงเรียนสาธิตปทุมวัน พ.ศ. 2496
6. จัดตั้งกรมการฝึกหัดครู พ.ศ. 2497
7. จัดตั้งโรงเรียนประถมสาธิตประสานมิตร พ.ศ. 2498
 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ฯพณฯ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและได้ดำรงตำแหน่งอยู่ 4 สมัย ระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2500-2512 ต่อเนื่องกันรวมระยะเวลา 11 ปีครึ่ง ในช่วงเวลานี้รัฐบาลได้แถลงนโยบายจะพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาคให้ก้าวหน้า งานที่สำคัญที่ ฯพณฯ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ดำเนินนโยบายและสร้างผลงานที่ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง คือ การก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งมีการเตรียมงานและวางรากฐานการบริหารและการจัดการที่มั่นคงจนทำให้มหาวิทยาลัยทั้งสองเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในปัจจุบัน
 
 ตำแหน่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
พ.ศ. 2485 กรรมการจัดการราชินีมูลนิธิ (โดยพระราชเสาวณีย์)
พ.ศ. 2485 ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณคดี สาขาวรรณคดีและภาษาศาสตร์,
กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2490 กรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2507 กรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2508 อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร (ถึง พ.ศ. 2517)
อุปนายกกิตติมศักดิ์ในคณะลูกเสือแห่งชาติ ครั้งแรก
พ.ศ. 2512 อุปนายกกิตติมศักดิ์ในคณะลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่สอง
สมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ. 2515 กรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร (ถึง พ.ศ. 2519)
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ถึง พ.ศ. 2516)
พ.ศ. 2518 สมาชิกวุฒิสภา สมัยที่ 2 (ถึง พ.ศ. 2519)
พ.ศ. 2529 ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
 
 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2458 เหรียญราชรุจิเงิน
เหรียญราชินีรัชกาลที่ 5 (ส.ผ.)
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชการที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
พ.ศ. 2460 เหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร. ชั้น 5
พ.ศ. 2475 เหรียญที่ระลึกปฐมบรมราชานุสรณ์
พ.ศ. 2479 ตติยจุลจอมเกล้า (สืบสกุล)
พ.ศ. 2481 ตริตราภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2483 ตริตราภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2486 ทวีตริยาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2491 ทวีตริยาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2492 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2493 เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9
เหรียญราชการชายแดน
พ.ศ. 2494 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2495 เหรียญจักรพรรดิมาลา
พ.ศ. 2497 ทุติยจุลจอมเกล้า
มหาวชิรมงกุฏ
เหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร. ชั้น 3
พ.ศ. 2550 เหรียญฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2503 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
พ.ศ. 2504 เหรียญรัชการที่ 9 เสด็จนิวัติพระนคร
เหรียญลูกเสือสดุดี
พ.ศ. 2505 เหรียญกาชาดสรรเสริญ ชั้น 1
พ.ศ. 2510 ปฐมจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2526 เหรียญดุษฏีมาลา เข็มศิลปวิทยา
พ.ศ. 2528 เหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร. ชั้น 2
พ.ศ. 2532 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่ง รามกีรติ
 
 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
พ.ศ. 2505 Great Cross with Star and Sash (เยอรมนี)
พ.ศ. 2507 Grand Cordon Leopod (เบลเยี่ยม)
Sacred Treasure 1st Class (ญี่ปุ่น)
พ.ศ. 2510 The Order of Diplomatic Merit Service 1st Class (เกาหลี)
พ.ศ. 2511 Grand Cordon of Order of Brilliant Star (จีนคณะชาติ)
 
 เกียรติยศที่ได้รับจากหน่วยงานและสถาบันต่างๆ
พ.ศ. 2505 คุรุศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2507 นิติศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (LL.D. มหาวิทยาลัยอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา)
พ.ศ. 2509 ศิลปศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (โบราณคดี) มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2510 การศึกษาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
พ.ศ. 2516 ศิลปศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2517 ศิลปศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2527 ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาภาษาไทย) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2530 อักษรศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาการศึกษา
พ.ศ. 2531 ผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น
รับพระราชทานพระเกี้ยวทองคำในฐานะผู้ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น
พ.ศ. 2535 รับพระราชทานโล่นักการฝึกหัดครูไทย
รับรางวัลอาเซียน สาขาวรรณกรรม
ได้รับยกย่องเป็นบุคคลสำคัญที่ทำคุณประโยชน์แก่การศึกษาของชาติอย่างสูงยิ่ง
พ.ศ. 2537 ได้รับประกาศเชิดชูเกียรติเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาและวรรณกรรมไทย
พ.ศ. 2544 ได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลดีเด่นและเป็นบุคคลสำคัญใน 4 สาขา ได้แก่ สาขาการศึกษา วัฒนธรรม วรรณกรรม และการสื่อสารมวลชน
 
 ปัจฉิมวัย
 
             ถึงแม้ว่า ฯพณฯ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล จะพ้นจากภาระหน้าที่ราชการประจำและเป็นข้าราชการบำนาญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการแล้ว ท่านยังคงรับภาระงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะภารกิจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่ง ฯพณฯ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลมีความจงรักภักดีอย่าง
ลึกซึ้ง โดยจะอุทิศทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา และกำลังทรัพย์เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ อันนำมาซึ่งการรวบรวม ค้นคว้าศึกษา และเผยแพร่พระราช-กรณียกิจ พระราชนิพนธ์ที่ทรงคุณค่า ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าสืบไป
 
          ในปี พ.ศ.2538 ฯพณฯ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้กราบถวายบังคมลาถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538 เวลา 17.05 น. ณ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า สิริอายุรวมได้ 91 ปี 11 เดือน 11 วัน