โครงร่างการวิจัย
รายงานทางวิชาการ หมายถึง รายงานที่เผยแพร่สิ่งที่ได้ค้นคว้าหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา ผู้เขียนจะต้องนำผลการศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างมีระเบียบและเป็นระบบนำเสนอ และเรียบเรียงเนื้อหาด้วยวิธีการเขียนอย่างมีระเบียบ ระบบ มีเหตุผล และถูกต้องตามแบบแผนที่กำหนด
รายงานทางวิชาการ หมายรวมถึง รายงานการวิจัย (research paper) ภาคนิพนธ์ รายงานประจำภาค (term paper) การค้นคว้าอิสระ (independent study) และวิทยานิพนธ์ หรือปริญญานิพนธ์ (thesis of dissertation) ตลอดจนการวิจัยการดำเนินงาน (operations research) เช่น การวิจัยทางการตลาด (marketing research) การวิจัยธุรกิจ (business research) เป็นต้น
ในกรณีที่เป็นการวิจัยของสถาบัน หน่วยงาน ลำดับแรกของการทำวิจัย ผู้ที่อาจต้องนำเสนอโครงร่างการวิจัยที่จะดำเนินการ เพื่อนำเสนอความเป็นไปได้ในการทำวิจัยที่สมบูรณ์ต่อไป ในขั้นตอนการนำเสนอนี้ เรียกว่า การนำเสนอ โครงร่างการวิจัย (proposal ) โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการนำเสนอต่อคณะกรรมการผู้ให้ทุนวิจัย หรือต่ออาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพิจารณาในเบื้องต้น
โครงร่างการวิจัย ควรมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. ชื่อเรื่อง
2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4. คำถามของการวิจัย
5. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6. การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
7. สมมติภาพและกรอบแนวคิด
8. ขอบเขตของการวิจัย
9. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
10. นิยามศัพท์
11. ระเบียบวิธีดำเนินการวิจัย
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
13. ระยะเวลาทำการวิจัย
14. รายละเอียดงบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการวิจัย
15. บรรณนุกรม
16. ภาคผนวก
17. ประวัติของการดำเนินการวิจัย
*ไม่จำเป็นต้องมีทุกโครงการ
การเขียนรายงานการวิจัย
รายงานการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนหน้า ส่วนเนื้อหา และส่วนท้าย แนวทางการเขียนแต่ละส่วนมีดังนี้
1. แนวทางการเขียนส่วนหน้า
- ปก ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย และข้อความอื่น ๆ เช่น หน่วยงานของผู้วิจัย ปีที่ทำวิจัย
- บทคัดย่อ เป็นส่วนที่สรุปย่อเรื่องราวทั้งหมดของงานวิจัย สิ่งสำคัญที่ควรนำเสนอได้แก่ วัตถุประสงค์ของ การวิจัย วิธีการดำเนินการวิจัย และผลการวิจัย
- กิตติกรรมประกาศ เป็นการประกาศขอบคุณบุคคลและหน่วยงานที่ให้ความอนุเคราะห์และสนับสนุนให้ การดำเนินการวิจัยสำเร็จได้ด้วยดี
- สารบัญ โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ สารบัญเนื้อเรื่อง สารบัญตาราง และสารบัญแผนภูมิและ ภาพประกอบ
หมายเหตุ การกำหนดเลขหน้าในส่วนหน้านิยมใช้ระบบตัวอักษร คือ ก ข ค
2. แนวทางการเขียนส่วนเนื้อหา ส่วนเนื้อหาประกอบด้วย 5 บท
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 แนวคิดหรือทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
ภาคผนวก
บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่เขียนไว้แล้วในแบบเสนอโครงการวิจัย ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- ขอบเขตของการวิจัย (ขอบเขตเป็นการสร้างประดิษฐ์และการประเมินประสิทธิภาพของ สิ่งประดิษฐ์)
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทนี้การนำเสนอแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบในการวิจัยต้องเรียบเรียงสรุปกรอบความคิด หลักการเขียนต้องเป็นการเรียบเรียงเนื้อหากับการเขียนบทความทางวิชาการ ไม่ควรลอกเนื้อหามาต่อกันเป็นท่อน ๆ หัวข้อสำคัญประกอบด้วย
- แนวความคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่นำมาใช้ในงานวิจัย
- ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย บทนี้เป็นการนำเสนอถึงวิธีการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รูปแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล หัวข้อที่ควรนำเสนอ ประกอบด้วย
- การสร้างเครื่องมือสำหรับใช้ในการวิจัยมีอะไรบ้าง มีขั้นตอนการสร้างและพัฒนาอย่างไร
- ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- การดำเนินการทดลอง เขียนให้ชัดเจนว่าดำเนินการอย่างไร
- การเก็บรวบรวมข้อมูลมีแผนอย่างไร ใช้วิธีการใด
บทที่ 4 ผลการวิจัย เป็นการนำเสนอการวิจัยซึ่งมีผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ หลักการนำเสนอการวิจัยทั้งสองลักษณะมีดังนี้ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ
- เรียงลำดับตามวัตถุประสงค์
- ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาทางสถิติ
- หากมีตารางหรือกราฟ ให้อธิบายอย่างชัดเจนว่าต้องการนำเสนออะไร
บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ เป็นการนำเสนอข้อสรุปจากทุกบทที่ผ่านมาและข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย การเขียนโดยทั่วไปจะเริ่มจากวัตถุประสงค์การวิจัย สรุปถึงวิธีการวิจัยโดยย่อ สรุปผลการวิจัย การอภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอ
การเขียนสรุปผลการวิจัย ควรเขียนในลักษณะการตีความจากข้อมูลให้กระชับ และเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
การเขียนอภิปรายผลการวิจัย ควรแยกอภิปรายเป็นประเด็น โดยชี้ประเด็นว่าสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับทฤษฎีหรือผลการวิจัยที่คนอื่นทาไว้โดยยกเหตุผลมาประกอบการอภิปราย
การเขียนข้อเสนอแนะ เป็นการนำเสนอประเด็นที่ควรนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมีข้อควรระวังในการนำไปใช้อะไรบ้าง แนะนำอะไรบ้าง และข้อเสนอแนะว่าควรทำวิจัยอะไรอย่างไร
การเขียนประสบการณ์ที่ผู้วิจัย ได้รับในงานวิจัยเชิงปฏิบัติการหรืองานวิจัยเชิงคุณภาพ ถือว่าหัวข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นการเล่าถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นทั้งทางบวกและทางลบ ปัญหาอุปสรรคที่ผู้วิจัยพบ และแนวทางการแก้ปัญหาอุปสรรคเหล่านั้น รวมทั้งการเล่าถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มีคุณค่าต่อผู้วิจัยทั้งในด้านการทางานและหน่วยงาน
3. แนวทางการเขียนส่วนท้าย ส่วนท้ายของการเขียนรายงานการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
- เอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิงนั้นควรใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งให้คงที่
- ภาคผนวกการเขียน อาจนำเสนอภาพกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย อุปกรณ์ตัวอย่าง ข้อมูลดิบ ทั้งนี้ขอให้พิจารณาความเหมาะสมด้วยว่าควรนำเสนออะไร ตามลำดับอย่างไร