Untitled Document
 
 
 ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ปีการศึกษา 2552-2553
 
ศาสตราจารย์ ดร. แอ๊ปเดลลาซิส โบวราส
 
สาขาวิชา
          ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการความรู้
คำประกาศเกียรติคุณ
          ศาสตราจารย์ ดร. แอ๊ปเดลลาซิส โบวราส ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง • Director of the CERRAL Cooperative Studies, Development and Knowledge Transfer Center • Head of LIESP Lyon Research Laboratory วุฒิการศึกษา • Habilitation Professor Thesis on Information Systems for Product Design and Development “Conversion and Morphological Description of Geometric Models”, Claude Bernard University of Lyon, France • Research Qualification Degree, National Commission of Education and Research. Paris, France • Ph.D. Thesis on Computer Aided Design “Algebraic Methodology for Freeform Shape Creation and Manipulation”, Claude Bernard University of Lyon, France • Research Master (DEA) in Informatics and Automatics – INSA National Institute of Applied Sciences, Lyon, France • Engineer Degree in Industrial Maintenance, National Institute of Mechanical Engineering – Algiers, Algeria ศาสตราจารย์ ดร. แอ๊ปเดลลาซิส โบวราส เป็นหัวหน้าทีมวิจัยของมหาวิทยาลัย Lumiere ประเทศฝรั่งเศส ได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างด้านวิชาการแก่นักวิจัยและนักศึกษา เป็นนักวิจัยที่มีความสามารถ และมีวิสัยทัศน์ในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม ผลจากการวิจัยความสามารถนำไปใช้พัฒนาอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการช่วยพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทขนาดย่อม นอกจากนี้ยังมีผลงานทางวิชาการในด้านการจัดการความรู้และการจัดการวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (PLM) เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการระดับนานาชาติ ผลงานในระดับสถาบันและองค์กร • The French AERES (Evaluation of University Curricula and Research Units) • ANR (Science Foundation), the European Competence Centers Program (Euroopa Liit – Euroopa Regionaalarengu Fond) • ร่วมก่อตั้งสหภาพนานาชาติของคณะดำเนินการจัดการข้อมูล Inernational Federation of Information Processing ซึ่งดำเนินการงานด้านการจัดการวัฏจักรการใช้งานของผลิตภัณฑ์ โดยดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานทำหน้าที่รับผิดชอบกลุ่มประเทศในยุโรปและแอฟริกา • สมาชิกคณะบรรณาธิการบริหารวารสารนานาชาติ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการจัดการความรู้ การจัดการโซ่อุปทานและเป็นสมาชิกของ The New International Federation of Information Processing ในการรวบรวมการจัดการผลิตภัณฑ์ • ผู้ร่วมก่อตั้ง International WG – PLM และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการประจำปีของนักศึกษาปริญญาเอกด้าน Product Lifecycle Management • The Canadian NSERC: Research Agency • The American NSF (National Science Foundation) • ผู้เชี่ยวชาญใน The French Foreign Affairs Ministry ซึ่งดำเนินการเพื่อสร้างเครือข่าย of ENSA National Institute f applied Science กับประเทศโมรอคโค • หัวหน้าในการทำงานร่วมกับสถาบันการผลิตหลายแห่งในยุโรป เช่น Euroopa Regionaalarengu Fond เป็นผู้เชี่ยวชาญหน่วยงานการวิจัย NSERC แห่งชาติแคนาดา และ ANR แห่งชาติฝรั่งเศส • The National Institute of Standards and Technology ประเทศสหรัฐอเมริกา • อาจารย์พิเศษ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยฟูดาน และมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน • อาจารย์พิเศษ The Indian Institute of Science มหาวิทยาลัยบังคาลอร์ ประเทศอินเดีย • บรรณาธิการและผู้ก่อตั้งวารสารนานาชาติ เรื่อง การจัดการวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (International Journal of Product Lifecycle Management, IJPLM) • บรรณาธิการร่วมและผู้ก่อตั้งวารสารนานาชาติ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (International Journal of Product Development, IJPD) ผลงานในระดับอุตสาหกรรม • ผลงานด้าน CAD/CAM ได้นำไปประยุกต์ใช้ในบริษัท CORETECH ประเทศฝรั่งเศส เพื่อออกแบบและพัฒนาการผลิต และใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมยานยนต์ • ผู้เชี่ยวชาญในคณะกรรมการมาตรฐานของ The French National Association of Normalization (AFNOR) ซึ่งเป็นองค์กรด้านมาตรฐานของประเทศฝรั่งเศสที่ทำหน้าที่พัฒนาและการรับรองมาตรฐานการให้ข้อมูลข่าวสารและการฝึกอบรมด้านมาตรฐาน • เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้ และการพัฒนาการจัดการวงจรชีวิตของผลิตภัณฑืในการจัดการประชุม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์ ดร. แอ๊ปเดลลาซิส โบวราส ได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดนเป็นผู้สอนนักศึกษาระดับปริญญาเอก กระบวนวิชา ATKM ๘๐๓ ในหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความรู้ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๘ เป็นต้นมา และเป็นอาจารย์พิเศษในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลงานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย และการนำเสนอผลงานวิจัยไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ได้ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ เป็นผู้ริเริ่มโครงการด้านการวิจัย และโครงการด้านกาเรียนการสอน โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านการศึกษาวิจัย และผู้ประกอบการในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นโครงการะดับนานาชาติ จำนวน ๕ โครงการ ดังนี้ ๑. โครงการ The East – West Asia – Link Program งบประมาณดำเนินการ ๒๙๙,๘๑๐ ยูโร เป็นโครงการความร่วมมือด้านการเรียนการสอนและการทำวิจัยระหว่างประเทศในสหภาพยุโรป และประเทศในทวีปเอเชีย (ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนและเนปาล) สำหรับประเทศไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการโครงการซึ่งมีนักศึกษาได้รับทุนการศึกษาเพื่อเรียนในระดับปริญญาเอกในประเทศฝรั่งเศส และได้รับปริญญาจากทั้งสองสถาบัน มีผลงานการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติจำนวนมาก ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการนี้ทำให้เกิดโครงการด้านความร่วมมือต่างๆ ในปัจจุบัน เช่น การได้รับการสนับสนุนการจัดการประชุมระดับนานาชาติ Software Knowledge Information Management and Application (SKIMA) จาก Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) ซึ่งเป็นการประชุมทางวิชาการด้านการจัดการความรู้ และSoftware นอกจากนี้ ความสำเร็จของโครงการดังกล่าวยังทำให้เกิดการตั้ง Franco-Thai Information and Technology Center เพื่อดำเนินการหลักในการถ่ายทอดความรู้จากภาคการศึกษาไปยังภาคอุตสาหกรรม ๒. โครงการ Euro-Thai ETHICS-FDE (Euro Thai Implementation of Cooperative Study-For Economic Development งบประมาณในการดำเนินโครงการนี้ ๑๙๙,๗๔๕ ยูโร เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยฝรั่งเศส และอิตาลี สำหรับประเทศไทย มีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการด้านการเรียนการสอนสหกิจศึกษา สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและผู้ประกอบการในสหภาพยุโรป และประเทศไทย ยังผลให้นักศึกษาสหกิจศึกษามีโอกาสเข้าไปศึกษาในบริษัทดังกล่าว ๓. โครงการ Euro-Thai SQUARE งบประมาณดำเนินการ ๑๗๑,๖๗๔ ยูโร เป็นโครงการความร่วมมือด้านระบบการจัดการคุณภาพ สำหรับการวิจัยและการศึกษา ระหว่างประเทศไทย อิตาลี และฝรั่งเศส ซึ่งให้ความร่วมมือด้านการศึกษาและการโอนหน่วยกิตของนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจากประเทศไทย และประเทศในสหภาพยุโรป ปัจจุบันโครงการขยายผมการดำเนินงานไปยังประเทศอื่นๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ๔. โครงการ ERASMUS-MUNDUS e-Link (Link for Innovation, Networking and Knowledge) งบประมาณ ๕,๔๘๘,๗๐๐ ยูโร เป็นโครงการที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากผลสำเร็จของโครงการ The EAST – WEST Asia – Link Program โครงการดังกล่าวเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศในสหภาพยุโรป คือ ประเทศฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษ และฮังการี ร่วมกับประเทศในแถบเอเชีย คือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน เนปาล ภูฏาน ปากีสถาน บังคลาเทศ และประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ทุนการศึกษาและดูงานจำนวน ๕๕ คน ซึ่งในจำนวนนี้มีนักศึกษาและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน ๔๖ คน ได้รับการสนับสนุนให้ไปศึกษาและดูงานในประเทศอิตาลี อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮังการี ๕. โครงการก่อตั้งศูนย์ Franco-Thai Information and Technology Center ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสหภาพยุโรปจำนวน ๓๐,๖๘๐ ยูโร ศูนย์ดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเข้าร่วม ๒ สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยโยนก และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำหรับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยีและคณะมนุษยศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการ สำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศฝรั่งเศส ได้แก่ The University of Dijon, Lyon and Grenoble เป็นผู้ดำเนินการ ปัจจุบันศูนย์ดังกล่าว ได้ขยายความร่วมมือไปยังประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียนโดยมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Morrocan Marrakech and Fes University ในประเทศโมรอคโค โดยเหตุที่ ศาสตราจารย์ ดร. แอ๊ปเดลลสซิล โบวราส เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการทำงานวิจัยด้านการจัดการความรู้ การพัฒนาการจัดการวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบและพัฒนาการผลิต และการขยายผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในวิชาชีพอุตสาหกรรม เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการและวิชาชีพทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เกียรติคุณและผลงานอันดีเด่นดังกล่าว สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงมีมติให้ได้รับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการความรู้ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป