Untitled Document
 
 
 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปีการศึกษา 2548-2549
 
ศาสตราจารย์ ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง
 
สาขาวิชา
           สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คำประกาศเกียรติคุณ
          ศาสตราจารย์ ดร. ถิรพัฒน์ วิลัยทอง เป็นผู้มีความสามารถและความชำนาญพิเศษ ในด้านฟิสิกส์นิวเคลยร์ ฟิสิกส์ไออน-พลาสมา และฟิสิกส์เครื่องเร่งอนุภาค ในด้านการสอนได้อุทิศตนให้แก่การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ตลอดระยะเวลาที่เข้ารับราชการเป็นต้นมา ได้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต เป็นประธานกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาฟิสิกส์ และประธานกรรมการ โครงการปริญญาเอกร่วมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่-มหาวิทยาลัยอุปซาลา ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ในฐานะอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนดลยี ในด้านการวิจัย ได้บุกเบิกงานวิจัยทางด้านฟิสิกส์นิวเคลียร์ ฟิสิกส์ลำไอออน-พลาสมา และฟิสิกส์เครื่องเร่งอรุภาค จนเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เป็นผู้บุกเบิกการใช้เทคโนโลยีลำไอออนกับงานทางด้านชีววิทยาร่วมกับคณาจารย์จากภาควิชาชีววิทยา ภาควิชาพืชสวน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนสามารถค้นพบเทคนิคการถ่ายโอนดีเอ็นเอเข้าสู่เซลส์แบคทีเรียได้เป็นแห่งแรกของโลก ได้นำกลุ่มวิจัยและพัฒนาเครื่องกำเนิดอนุภาคทั้งสี่ชนิด ได้แก่ นิวตรอน ไอออน อิเล็กตรอน และโฟตรอน จนเป็นผลสำเร็จ ทำให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเพียงไม่กี่แห่งที่มีเครื่องกำเนิดอนุภาคทั้ง 4 ชนิด ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติในด้านงานวิจัยจากองค์กรต่างๆ กล่าวคือ ได้รับรางวัลดีเยี่ยมของสภาวิจัยแห่งชาติ 2 ครั้ง ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติจากสภาวิจัยแห่งชาติ ในด้านการบริการวิชาการ ศาสตราจารย์ ดร. ถิรพัฒน์ ได้อุทิศเวลาส่วนหนึ่งเพื่อการบริการวิชาการ ให้แก่ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างๆของรัฐอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นเวลานาน ได้ทำงานร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 25 ปี ที่ผ่านมา โดยได้ไปปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ เป็นจำนวน 5 ครั้ง ที่สาธารณรัฐคิวบาและสหภาพพม่า อนึ่งในด้านทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ศาสตราจารย์ถิรพัฒน์ ได้อุทิศเวลาส่วนหนึ่งให้แก่งานด้านศิลปวัฒนธรรม โดยทำการศึกษาการกำหนดอายุของกำแพงโบราณเมืองเชียงแสน ร่วมกับคณาจารย์จากคณะสังคมศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร โดยเหตุที่ ศาสตราจารย์ ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิชาการ กอปรด้วยคุณธรรมและก่อประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอย่างยิ่ง สมควรได้รับการยกย่องในวงวิชาการ สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงมีมติให้ได้รับการแต่งตั้งเป้นสาสตราจารย์เกียรติคุณ สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป